ใครที่เคยผ่านประสบการณ์การเรียนในห้องเรียนรวมขนาดใหญ่โดยเฉพาะ ถ้าอยู่ในอาคารที่สร้างมานาน คงต้องเคยเจอปัญหาเรื่องเสียงกันมา ไม่มากก็น้อย การออกแบบอะคูสติกภายในห้องเรียนขนาดใหญ่ให้ได้คุณภาพเสียงที่ดีเหมาะสมและยังช่วยเพิ่มสีสันให้ห้องมีความโดดเด่น แล้วยังช่วยสร้างบรรยากาศให้กับการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น ด้วยวัสดุบางตัว สามารถใช้แทนวัสดุปิดผนัง พร้อมสร้างดีไซน์เก๋ ๆ ให้พื้นผิวผนังไปด้วยในตัว
สิ่งแรกที่เราควรให้ความสำคัญ คือ เรื่องความก้องและการสะท้อนของเสียงซึ่งหลังจากที่ได้รับแบบแปลนห้องจากผู้รับเหมา ทีมวิศวกรได้ทำการวิเคราะห์ โดยดูจากวัสดุต่าง ๆ ภายในห้อง เนื่องจากห้องเรียนส่วนใหญ่จะผนังและหน้าต่างที่เป็นกระจก ซึ่งทำให้เสียงที่มากระทบนั้นเกิดการสะท้อนได้ดี จึงต้องออกแบบติดตั้งวัสดุอะคูสติก สำหรับผนังตกแต่ง และดูดซับเสียงบริเวณผนังด้านหลังและด้านข้างเพื่อลดความก้องของเสียงภายในห้อง ก่อนติดตั้งวัสดุอะคูสติก โดยห้องเรียนที่เราใช้เป็นตัวอย่างแสดงการติดตั้งในครั้งนี้ เป็นห้องเรียนของเรียนรวม มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ รังสิต และใช้วัสดุอะคูสติกสำหรับผนังตกแต่งดูดซับเสียง เอสซีจี ซึ่งวัดค่า RT (Reverberation time) ซึ่งเป็นค่าความกังวาล หรือ ความก้องของเสียงภายในห้อง ที่มีการสะท้อนกลับมาได้ประมาณ 5 วินาทีซึ่งอาจทำให้เกิดเสียงสะท้อนและมีผลกระทบต่อการเรียนการสอนได้
ภาพ: ขณะวัดเสียงห้องเรียนก่อนติดตั้งวัสดุอะคูสติกสำหรับผนังตกแต่งดูดซับเสียง
ภาพ: ภายในห้องเรียนก่อนติดตั้งวัสดุอะคูสติก ได้มีการติดตั้ง ฝ้าอะคูสติกเพื่อช่วยดูดซับเสียง
ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อการลดเสียงที่จะเกิดการสะท้อนภายในห้อง
ภาพ: ติดตั้งวัสดุอะคูสติกสำหรับผนังตกแต่งดูดซับเสียงในส่วนของผนัง ที่เป็นส่วนทึบ ด้านข้าง ห้องซึ่งส่วนใหญ่จะสลับกับหน้าต่างที่เป็นกระจก ซึ่งจะเป็นวัสดุที่ทำให้เกิดการสะท้อนของเสียง
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ https://www.scgbuildingmaterials.com/th?ct=TH
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น