หลายครั้งที่เรามองนวัตกรรมใหม่ ๆ รอบตัวเป็นเรื่องราวที่ท้าทาย ตื่นเต้น หรือทันสมัย จนลืมคิดไปว่า บางครั้ง นวัตกรรม หรือข้าวของเครื่องใช้ใหม่ ๆ ที่ดูจะล้ำ ๆ ก็อาจเอาไป MIX & MATCH กับของเก่า ๆ ได้ หรือบางที ของเก่า ๆ ที่ว่านั้น ก็อาจกลายเป็นของร่วมสมัยที่เตรียมไว้ให้เราสวมใส่รอยต่อที่ว่าให้สามารถต่อยอดพัฒนาอะไร ๆ ได้อีกมากมาย จนเราอาจคิดไม่ถึง เหมือนกับการบูรณาการบ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ของมูลนิธิครีเอทีฟ ไมเกรชั่น (อีส) เพื่อให้เป็นที่ตั้งของโครงการ Bangkok 1899 ที่จะเกิดขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนทางด้านสังคมและวัฒนธรรมแห่งใหม่ในเมืองไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนหลักจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ และกองทุน ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี
“จุดเด่นของการบูรณะบ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ในครั้งนี้ คือเพื่อให้เป็นต้นแบบของบ้านที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งความยั่งยืนในที่นี้หมายถึง การมีส่วนร่วมในการใช้พลังงานให้น้อยที่สุดด้วย”
“โจทย์สำคัญที่คุณ ซูซานนา ตันเต็มทรัพย์ ประธานกรรมการ มูลนิธิครีเอทีฟ ไมเกรชั่น (อีส) / ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการของ Bangkok 1899” บอกเล่าถึงความตั้งใจของการ บูรณะ บ้านเก่า ที่พระยาศรีภูริปรีชา (กมล สาลักษณ์) สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นเรือนหอของนางสาวถวิล ธิดาคนโต กับ นายสนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา (เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี) เมื่อราวปี 2442 โดยแรกสร้างเป็นตึกครึ่งไม้ 2 ชั้น ที่แม้จะมีขนาดเล็กและเรียบง่ายแต่ก็มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบยุโรป ที่เป็นที่นิยมในสมัยนั้น แต่สิ่งที่น่าสนใจของบ้านหลังนี้ก็คือ สร้างขึ้นในช่วงเดียวกันกับที่สร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อราว 110 ปีที่แล้ว และเพื่อให้บ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีหลังบูรณาการเป็น Cultural and Civic Hub หรือ บ้านต้นแบบ ที่เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ แลกเปลี่ยน ศิลปะ วัฒนธรรม รวมถึงนวัตกรรมทางสังคม โดยการผสมผสานเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายเข้าด้วยกัน เพื่อพัฒนาการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ผ่านสามเสาหลัก ศิลปะ การมีส่วนรวมของประชาชน และความยั่งยืน ให้เกิดขึ้นในสังคม ซึ่งยังไม่มีในประเทศไทยมาก่อน ตามความต้องการของมูลนิธิ ฯ
หลังการเข้าสำรวจพื้นที่หน้างาน เพื่อปรับปรุงพื้นที่ให้สอดรับกับแนวทางในการพัฒนา และกิจกรรมต่าง ๆ ของทางมูลนิธิฯ ที่จะนำมาสานต่อให้เกิดขึ้นบนพื้นที่ต่าง ๆ ภายในบ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี หลังถูกปล่อยว่างจากการใช้งานมานานกว่า 10 ปี คุณอะเล็กซานเดอร์ สรรประดิษฐ์ สถาปนิกที่รับผิดชอบดูแลการบูรณาการ การปรับปรุงพื้นที่ ได้ตัดสินใจติดต่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของบริษัท สยามไฟเบอร์กลาส จำกัด เข้าไปร่วมสำรวจพื้นที่ เนื่องจากเห็นความเป็นไปได้ของการนำนวัตกรรมที่มีคุณสมบัติในการช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ตามแผนการบรูณาการ เข้าไปติดตั้ง บริเวณพื้นห้องใต้หลังคาที่สถาปนิกผู้ออกแบบบ้าน นำรูปแบบสถาปัตยกรรมแนวนีโอคลาสสิคของตะวันตกที่กำลังได้รับความนิยมในประเทศไทยขณะนั้นมาผสมผสานกับ หลังคาแบบบ้านไทยให้สอดรับกับสภาพอากาศ ภูมิประเทศได้อย่างลงตัว และเอื้อต่อสภาพภูมิอากาศได้อย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นช่องช่วยระบายอากาศ แนวจั่วสูงประมาณกว่า 1 เมตร ที่แม้ว่าจะถูกปิดไว้ ด้วยแผ่นไม้บาง ๆ ทำให้พอดีต่อการนำฉนวนกันความร้อนไปวางปูได้อย่างลงตัว ด้วยเหตุผลที่ว่า “เพื่อให้มันเป็น sustainable way ตาม concept ที่ทางมูลนิธิวางไว้ ผมมองว่า ฉนวนกันความร้อนเอสซีจี สเตย์ คูล (STAY COOL) เป็นวัสดุตกแต่งเชิงนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยให้บ้านเย็น ที่เราสามารถเริ่มต้นใช้ได้ทันที เป็นอันดับต้น ๆ ด้วยความสะดวก และง่ายในการติดตั้ง จากเดิมที่แม้จะมีช่องระบายอากาศใหญ่ และหน้าต่างสูงอยู่ รอบบ้าน แต่ด้วยอุณหภูมิที่สูงขึ้นในปัจจุบัน ผนวกกับสภาพตึกเก่า ที่มีความเสี่ยงต่อผลกระทบด้านความชื้น การเลือก ฉนวนกันความร้อนเอสซีจี สเตย์คูล ที่ผลิตจากใยแก้วคุณภาพปราศจากสารพิษ จากการรับรองขององค์กรอนามัยโลก มีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนได้ถึง 7 เท่า ทำให้สามารถช่วยประหยัดค่าไฟจากเครื่องปรับอากาศได้ถึง 47% น้ำหนักเบา จึงไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้างของบ้าน และไม่ลามไฟ พร้อมเนื้อฉนวนถูกห่อหุ้มด้วยฟอยด์อีก 1 ชั้น ช่วยปกป้องความชื้น ควบคู่ไปกับการเพิ่มต้นไม้ในพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบ ทำให้หลังการติดตั้ง มูลนิธิฯ ใช้เครื่องปรับอากาศเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของบ้านเท่านั้นเอง” คุณอะเล็กซานเดอร์ บอกเล่าถึงความเป็นมาในการตัดสินใจนำนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงบ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีที่มีอายุกว่าร้อยปี นอกเหนือจากเรื่องการปรับปรุงพื้นที่ใช้สอย เพื่อให้สอดรับกับกับกิจกรรรมอื่น ๆ อาทิ การเป็นที่พักสำหรับศิลปินนานาชาติ การปรับปรุงห้องน้ำให้สอดรับกับวัฒนธรรมการใช้พื้นที่ของคนในยุคปัจจุบัน รวมถึง พื้นที่ ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการแลกเปลี่ยนทางศิลปะ และวัฒนธรรมในลำดับต่อไป
อย่างไรก็ดี คุณชัชวาลย์ เศรษฐบุตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามไฟเบอร์กลาส จำกัด ในกลุ่มธุรกิจเอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง (SCG Cement-Building Materials)ได้กล่าวถึงการเข้าร่วมสนับสนุนโครงการดังกล่าวว่า “นอกจากจะต้องขอบคุณ คุณซูซานนา และคุณอะเล็กซานเดอร์ ที่ช่วยเปิดมุมมอง การนำนวัตกรรมวัสดุตกแต่งมาใช้กับบ้านที่มีอายุยาวนาน กว่า 100 ปีได้อย่างลงตัว โดยเฉพาะแนวคิดการพัฒนาของ “บ้านต้นแบบ” ที่สะท้อนถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่พักอาศัย สิ่งแวดล้อม และชุมชนอย่างยั่งยืน ร่วมกันได้อย่างน่าสนใจ ตอกย้ำถึงความภาคภูมิใจในฐานะของผู้ผลิตฉนวนกันความร้อน ประเภทใยแก้วที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่เริ่มต้น จนหมดอายุการใช้งาน รวมถึงการพัฒนาการออกแบบวัสดุ ให้สามารถใช้งานได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ร่วมกับบ้านเย็น ทุกยุคสมัยได้อย่างแท้จริง”