ที่ผ่านมา เราอาจได้ยินข่าวคราวที่บอกว่า คุณภาพการศึกษาของเด็กไทยถดถอย จนเลยไปถึงการคาดการณ์คุณภาพของเด็กไทยที่มีแนวโน้มต่ำกว่าเด็กในภูมิภาคอาเซียนด้วยกัน บางประเทศได้ยินแล้ว ผู้ปกครองหลายท่าน อาจไม่ค่อยสบายใจนัก แม้ว่าความพยายามปฏิรูปของรัฐบาลก็พอจะทำให้ผู้ปกครองพอจะมีความหวังที่จะเห็นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของของเด็กไทยให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้นในเร็ว ๆนี้ก็ตาม
แต่ท่ามกลางความหวั่นวิตก กับประเด็นดังกล่าว การคว้าชัยของเด็กไทยที่เข้าร่วมโครงการการแข่งขันวัดระดับความรู้ความสามารถทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ระดับภูมิภาคอาเซียน ประจำปี 2016 ( Asian Science and Mathematics Olympiad for Primary School 2016) หรือ ASMOPS 2016 ซึ่งเป็น เวทีการแข่งขันของเด็กนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้เป็นที่ยอมรับระดับสากล ที่น่าสนใจอีกเวทีหนึ่ง จากประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย ไต้หวัน ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นที่ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีนักเรียนไทยเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 16 คน กวาดรางวัลเหรียญทอง เงิน และทองแดง ได้ถึง 44% ของรางวัลทั้งหมด ทั้งประเภทบุคคลในสายวิชาวิทยาศาสตร์ 3 เหรียญทอง 3 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง และ ประเภทบุคคล วิชาคณิตศาสตร์ 1 เหรียญทอง 4 เหรียญเงิน และ 2 เหรียญทองแดง ส่วนการแข่งขันประเภททีม เยาวชนไทย คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภททีม 1 รางวัล และ รองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภททีมถึง 3 รางวัล รวมทั้งสิ้นเยาวชนไทยสามารถคว้ารางวัลในปีนี้ ได้ทั้งหมด 19 รางวัล
แต่ท่ามกลางความหวั่นวิตก กับประเด็นดังกล่าว การคว้าชัยของเด็กไทยที่เข้าร่วมโครงการการแข่งขันวัดระดับความรู้ความสามารถทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ระดับภูมิภาคอาเซียน ประจำปี 2016 ( Asian Science and Mathematics Olympiad for Primary School 2016) หรือ ASMOPS 2016 ซึ่งเป็น เวทีการแข่งขันของเด็กนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้เป็นที่ยอมรับระดับสากล ที่น่าสนใจอีกเวทีหนึ่ง จากประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย ไต้หวัน ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นที่ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีนักเรียนไทยเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 16 คน กวาดรางวัลเหรียญทอง เงิน และทองแดง ได้ถึง 44% ของรางวัลทั้งหมด ทั้งประเภทบุคคลในสายวิชาวิทยาศาสตร์ 3 เหรียญทอง 3 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง และ ประเภทบุคคล วิชาคณิตศาสตร์ 1 เหรียญทอง 4 เหรียญเงิน และ 2 เหรียญทองแดง ส่วนการแข่งขันประเภททีม เยาวชนไทย คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภททีม 1 รางวัล และ รองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภททีมถึง 3 รางวัล รวมทั้งสิ้นเยาวชนไทยสามารถคว้ารางวัลในปีนี้ ได้ทั้งหมด 19 รางวัล
นางสาวสิริพร พันธุ์เขียน ผู้จัดการโครงการการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (ASMO Asian Science and Mathematics Olympiad) หรือ แอสโม่ (ASMO)ในประเทศไทย โครงการทดสอบเพื่อกระตุ้นและสนับสนุนเยาวชนไทยเห็นความสำคัญของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้เกิดการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นผู้ให้การสนับสนุนและคัดเลือกให้เด็กไทยเข้าร่วมแข่งขัน ASMOPS 2016 ที่ผ่านมาว่า “โครงการฯนี้ ไม่ได้เป็นเพียงการแข่งขันเท่านั้น เราถือว่า เวทีนี้เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งในการช่วยวัดผลทางการศึกษาด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาของไทยด้วย ดังนั้น จึงเป็นเครื่องพิสูจน์ของหน่วยงานทุกฝ่ายที่รับผิดชอบที่จะใช้เวทีนี้นำพาและขับเคลื่อนระบบการศึกษาไทยด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้ครอบคลุมให้ทั่วถึงทุกภูมิภาคของไทยอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง การจัดกิจกรรมมอบรางวัล ASMO ไทย ที่จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 เพื่อเป็นเกียรติ และร่วมแสดงความยินดีกับนักเรียนไทยทุกคนที่ได้รับรางวัลจากเวทีการแข่งขันในประเทศ และที่ได้รับความสำเร็จ ในฐานะตัวแทนที่เข้าไปร่วมแข่งขันในระดับอาเซียน ใน โครงการ ASMOPS ในคราวเดียวกันในปีนี้ พบว่า เรามีผู้ปกครองที่สนใจเข้าร่วมโครงการกับเรามากขึ้นในทุกปี จากเด็กที่เข้าร่วมโครงการในปีแรกกว่า 9 พันคน ในปีนี้ เรามีเด็กเข้าร่วมกว่า 3 หมื่นคน” นางสาวสิริพร กล่าวเพิ่มเติมว่า “ทั้งนี้ เราก็ต้องขอบคุณผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่ให้การสนับสนุน และร่วมกันผลักดัน การพัฒนาการศึกษาของเด็ก ๆ ที่เข้าร่วมแข่งขันในโครงการของแอสโม ประเทศไทย ไม่ว่าจะได้รางวัล หรือไม่ได้ก็ตาม เพราะสิ่งที่เด็กทุกคนจะได้อันดับแรกเลยคือการเตรียมตัว และทดสอบประสิทธิภาพการเรียนของตัวเองด้วย”
ทางด้าน นายกฤตชัย อรุณรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประธานในงาน กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการมุ่งพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เด็กไทยมีศักยภาพ และมาตรฐานทัดเทียมกับเด็กนักเรียนในระดับภูมิภาคและนานาชาติ ซึ่งโครงการแข่งขัน Asian Science and Mathematics Olympiad 2016 ถือเป็นโครงการความร่วมมือทางวิชาการระดับภูมิภาคอาเซียน และทำให้เด็กไทยมีความภาคภูมิใจที่มีโอกาสสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ
อย่างไรก็ดี นางวัชรี ปรัชญานุสรณ์ นายกสมาคมผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนนอกระบบ กล่าวเชื่อมั่นว่าเวทีการแข่งขันนั้น จะทำให้เด็กไทยรู้จักไขว่หา ใฝ่รู้ เสริมสร้างประสบการณ์การทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ และสามารถตอบโจทย์เรื่องการพัฒนาทักษะได้หลาย ๆ ด้าน ซึ่งทางสมาคมฯ พยายามสร้างภาคีเครือข่ายร่วมกับสมาชิกสมาคมสภาการศึกษาต่าง ๆ เพื่อกระจายข้อมูลข่าวสารให้กับเด็กนักเรียนไทยทั่วประเทศทั้งในระบบและนอกระบบมากกว่าการทำเพื่อการค้า
“กิจกรรมการส่งเสริมทักษะทางวิชาการนั้นไม่ได้มีอยู่เพียงในห้องเรียน หรือภายในโรงเรียนเท่านั้น การสร้างโอกาสให้เด็กได้ทำกิจกรรมภายนอกบ้างจะทำให้เด็กมีความสุข ช่วยพัฒนาการด้านอีคิวและไอคิว เราต้องร่วมมือกัน เพื่อให้เด็กไทยก้าวไกลสู่สากล สร้างเด็กให้มีความสุขกับการเรียนมากขึ้น”
สำหรับเยาวชนคนเก่งของประเทศไทยในเวทีการแข่งขันฯ นี้ คือ เด็กชายวสวัตติ์ ระวังวงศ์ (น้องน่านน้ำ) ผู้ชนะเลิศรางวัลเหรียญทอง การแข่งขันวิชาคณิตศาสตร์ ประเภทบุคคล นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กล่าวถึง การเข้าแข่งขันครั้งนี้ว่า “ผมโชคดีที่ได้ไปร่วมแข่งขันครับ ทำให้ผมได้เรียนรู้และได้เจอโจทย์เลขใหม่ ๆ ท้าทายสนุกดีครับ ก่อนไปแข่งขันผมก็พยายามทบทวนและหาแนวข้อสอบเก่า ๆ มาฝึกทำและศึกษาวิธีคิดจากแนวทางเฉลยของหนังสือคู่มือเตรียมสอบ หรือบางทีก็ค้นหาทางอินเตอร์เน็ตครับ”
“เคล็ดลับความสำเร็จของผมคือ แบ่งเวลาครับ ผมชอบทั้งเรียนและเล่นเหมือนกับเพื่อน ๆ ทุกคนครับ” ซึ่งคุณจุฑารัตน์ ระวังวงศ์ คุณแม่ของน้องวสวัตติ์ ระวังวงศ์ กล่าวเสริมประเด็นนี้ว่า “น้องวสวัตติ์ชอบเล่นเกมเหมือนเด็ก ๆ ทั่วไปค่ะ แต่น้องจะเล่นไม่เกิน 20 นาทีต่อวันเท่านั้น น้องชอบเตะฟุตบอลกับเพื่อน ๆ และก่อนนอนก็ชอบเล่นกีตาร์”
อีกหนึ่งความภูมิใจของเด็กไทย เด็กชายธรินภัชญ์ สุชาติพงษ์ (น้องเกท) แชมป์เหรียญทองสมัยที่ 2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ผู้คว้ารางวัลเหรียญทองประเภทบุคคล วิชาวิทยาศาสตร์ กล่าวถึง การแข่งขันในครั้งนี้ว่า “ปีนี้เป็นปีที่ 2 ที่ได้เข้าร่วมแข่งขันบนเวทีนี้ รู้สึกตื่นเต้นและกดดัน แต่จะต้องขยันทำโจทย์และอ่านหนังสือมากยิ่งขึ้น เนื่องจากปีที่แล้วเราเป็นตัวแทนเยาวชน ได้รับเหรียญทองกลับมา ปีนี้ก็เต็มที่มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้จะต้องแบ่งเวลาเรียนและทำกิจกรรม ให้สมดุลเพื่อพัฒนาทักษะวิชาความรู้ ในการเข้าแข่งขัน
ทั้งนี้ นางสาวสิริพร กล่าวสรุปเพิ่มเติมถึงทิศทางการดำเนินโครงการ ASMO ในปี 2017 ว่า “การที่ทางแอสโม่ ประเทศไทย ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขัน ในปี 2017 นอกจากจะสะท้อนให้เห็นศักยภาพของการดำเนินงาน การจัดการแข่งขันทางวิชาการด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ของ แอสโม่ ไทย ได้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล แล้วผลของความสำเร็จในการจัดการแข่งขันของเวที Asian Science and Mathematics Olympiad 2016 (ASMO 2016) นี้ ไม่ใช่แค่เหรียญรางวัลและชื่อเสียงของประเทศเท่านั้น สิ่งสำคัญคือ การสนับสนุนของทุกคน ทุกภาคส่วนที่จะทำให้เวทีการแข่งขันเป็นเวทีแห่งโอกาสของการพัฒนาความรู้และทักษะวิชาด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กไทยต่อไป”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น